วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิถีประชาธิปไตยกับการพัฒนาจริยธรรม


วิถีประชาธิปไตยกับการพัฒนาจริยธรรม
ปัจจุบัน ประชาชนชาวไทยเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย และความไม่สงบสุขในบ้านเมือง การร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งจะมีการลงประชามติกันในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ ที่จะถึงนี้ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจคำว่า “ประชามติ ” ว่า หมายถึง มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือที่ใดที่หนึ่ง ( plebiscite ) มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ ผ่านสภา นิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินใจปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ วิกฤตทางการเมืองที่ เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย สาเหตุจากกลุ่มคนบางกลุ่มขาดคุณธรรม จริยธรรม ไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับประเทศ คำถามที่พยายามหาคำตอบว่าทำอย่างไรให้ ประชาชนไปเลือกตั้งผู้แทนราษฎรอย่าง ถูกต้อง และเป็นประชาธิปไตยไม่ถูกซื้อเสียง เพื่อเลือกคนดีมาบริหารประเทศ บทเรียนวิกฤติเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ น่าจะเป็นบทเรียนที่ชี้ให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของความล้มเหลวทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดควบคู่กับปัญหาคุณธรรม เพราะขาดความสามัคคี ความเอื้ออาทร และจริงใจต่อตนเองและต่อประเทศชาติ ประการสำคัญประชาชนชาวไทยต้องเข้าใจเข้าถึงคำว่า “ ประชาธิปไตย ” ว่าหมายความว่าอย่างไร พร้อม ๆ กับการน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องของความพอ เพียง ซึ่งหมายถึง พอเพียงในการดำเนินชีวิต พอเพียงในความคิด คือจิตสำนึกในการพิจารณาในการกระทำของตนเองมิให้มีผลกระทบทำให้ส่วนรวมเกิดความเดือดร้อน การคำนึงถึงส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
คำว่า “ ประชาธิปไตย ” แปลมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Democracy ซึ่งคำนี้มาจากคำว่า Demokration ในภาษากรีกแปลว่า การปกครองของประชาชน หรือ “ ประชาธิปไตย ” หมายถึง ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่ ดังนั้นประชาธิปไตยจะดี ก็อยู่ที่ประชาชนที่เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจว่า จะต้องเป็นคนดีและมีปัญญา โดยที่ว่าประชาชนเป็นใหญ่ มีอำนาจตัดสินใจ วินิจฉัยด้วยเสียงข้างมากเป็นใหญ่ ในเรื่องนี้พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)ให้ข้อสังเกตไว้ ๒ ประการคือ

คุณธรรมจริยธรรม

คุณธรรมจริยธรรม

ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์
สัปดาห์นี้ เรามาคุยกันเรื่องที่ฮิตกันมากในระยะนี้  นั่นคือคุณธรรมและจริยธรรมในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ คุณธรรมและ จริยธรรมของคนในสังคมจึงมีบทบาทสำคัญกับระบบการเมืองการปกครองที่สังคมนั้นใช้ ในสังคมประชาธิปไตย ลักษณะการเมืองการปกครองเน้นหนักในทางที่สะท้อนความหวัง ความปรารถนาของมวลมนุษยชาติ มีการปกครองที่รัฐบาลมีอำนาจจำกัด เน้นความเสมอภาค เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ความสงบสุขและความมั่นคงของการดำรงอยู่ของรัฐจึงขึ้นอยู่กับ คุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคม
ความหมายและความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรม (Morality) และจริยธรรม (Ethics) เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 
คุณธรรม แปลว่า สภาพคุณงามความดี
จริยธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
บางครั้งก็เรียกควบกันไปเป็นคุณธรรม จริยธรรม โสเครตีส เห็นว่า คุณธรรมที่แท้จริงมีคุณค่าภายในตัวของมัน คือ ทำให้ผู้ครอบครองความดีเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เพลโต้แนะว่า คุณธรรมต้องตั้งอยู่บนความรู้ สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นคุณธรรม เช่น ความกล้าหาญ ความพอดี ความยุติธรรม และศาสนกิจ จะไม่เป็นคุณธรรม หากสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่มีความรู้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ สังคมที่คนในสังคมไม่มีคุณธรรมจริยธรรม ก็จะเป็นสังคมไร้ระเบียบ มีการเบียดเบียนละเมิดและขัดแย้งกัน

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม กับความคาดหวังของสังคมไทย


 จากกระแสโลกาภิวัตน์ที่ผลักดันให้สังคมไทยมุ่งความสำเร็จทางวัตถุ คนในสังคมแสวงหาความสำเร็จในชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ บ้างก็แสวงหาอำนาจ บ้างก็แสวงหาผลประโยชน์ จนหลายคนมองเห็นตรงกันว่าปัจจุบันสังคมไทยเริ่มอ่อนแอลงเรื่อย ๆ และกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติหลายด้าน ทั้งด้านการเมือง การศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่พึงวิตกกังวลยิ่งนั่นคือ คุณธรรม จริยธรรมของคนไทยเริ่มถดถอยอันเป็นต้นเหตุที่จะนำไปสู่วิกฤติให้แก่สังคมไทยในอนาคต
ถ้าพิจารณาพื้นฐานปัญหาคุณธรรมจริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทย ส่วนหนึ่งและอาจจะเป็นส่วนใหญ่ปัญหานั้นเริ่มจาก “ปัญหาด้านครอบครัว” ซึ่งเกิดจากการที่ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน พ่อแม่ไม่มีเวลาให้บุตรหลาน การใช้ความรุนแรงในครอบครัว และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งประเด็นปัญหาของสังคมที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนไทยลำดับต้น ๆ เช่น ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว ซึ่งจะนำไปสู่การมีความรัก การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร รวมถึงภัยจากสื่อเทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต และการเข้าถึงอบายมุขทั้งเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดได้ง่ายดาย และที่สำคัญคือ “การขาดแบบอย่างที่ดี” นั่นเอง